- “น้ำเข้าหู” จุดเริ่มต้นที่อาจนำไปสู่ “ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ”
- 17 เมษายน 2560, 09:07 อ่าน: 2471
“ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ”
หรือ Otitis externa หรือ Swimmer’s ear เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบตามมาได้โดยอาการของหูชั้นนอกอักเสบติดเชื้อคือ ปวดหู หูอื้อ มีน้ำหรือน้ำเหลืองไหลจากหู แพทย์ตรวจจะพบมีช่องหูบวมแดง มองเห็นแก้วหูไม่ชัด กดเจ็บบริเวณหน้าใบหู โยกใบหูแล้วเจ็บมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยหากมีน้ำเข้าหูไม่ควรใช้ไม้แคะหูปั่นหูเพื่อเอาน้ำออก เพราะอาจทำให้เกิดแผลถลอกและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งนำไปสู่ “ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ”
การดูแลตัวเองเมื่อ “ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ”
1. หลังจากไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดโดยรับประทานยาและหยอดยาตามคำแนะนำของแพทย์
2 ระวังไม่ให้น้ำเข้าหู สามารถป้องกันน้ำเข้าหูได้โดยขณะอาบน้ำให้ใช้หมวกคลุมผมคลุมลงมาปิดบริเวณใบหู นอกจากนี้ภายหลังอาบน้ำ ควรใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดรอบๆหูและใบหูให้แห้ง
3. ไม่ปั่นหรือแคะหู ถ้ามีอาการคันหูทั้งในช่วงมีอาการช่องหูอักเสบหรือในภาวะปกติ ให้ดึงขยับใบหู เบาๆจะช่วยบรรเทาอาการคันหูได้ดี โดยไม่ต้องใช้ไม้แคะหูหรือปั่นหู
4. หากมีอาการผิดปกติไปจากเดิมหรืออาการต่างๆ แย่ลง เช่น ปวดหูมากขึ้น หูบวมแดงมากขึ้น ปวดศีรษะมาก มีไข้ ควรรีบไปพบแพทย์
เมื่อ “ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ” หายเป็นปกติแล้วผู้ป่วยสามารถกลับไปว่ายน้ำได้ตามปกติ แต่ต้องระวังน้ำเข้าหูและห้ามปั่นหูเพราะมีโอกาสที่หูชั้นนอกจะอักเสบได้อีก
Tags
Relatedที่เกี่ยวข้องอื่นๆ



